วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 10 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย




วันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่อง " แนวทางการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ "
ความหมายของสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมอาจแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. สิ่งแวดล้อมภายในบุคคล : การทำงานของระบบต่างๆของร่างกาย เช่น ระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นต้น 2. สิ่งแวดล้อมภายนอก : สิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายนอกกายของมนุษย์ เช่น วัตถุสิ่งของ คน พืช สัตว์ กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดจากคนและสัตว์ รวมไปถึงสิ่งที่เป็นนามธรรม ได้แก่ ศีลธรรมจรรยา ขนบธรรมเนียมประเพณีในสังคม ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม : เด็กได้รับการฝึกอบรมให้รู้จักบทบาทต่างๆในสังคมทั้งในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ไปพร้อมๆกันกระบวนการของการอบรมให้คนเป็นสมาชิกของสังคมนั้นจะขึ้นอยู่กับเจตคติ ความคาดหวัง และค่านิยมของสังคมที่คนๆนั้นเกี่ยวข้องด้วยเนื่องจากบทบาทที่แสดงอยู่เปลี่ยนไปก็ส่งผลกระทบต่อคนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัยมีดังนี้ 1. ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการตอบสนองความต้องการพื้นฐาน 2. ประสบการณ์ที่ได้จากการสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว 3. ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากสัมพันธภาพทางสังคม 4. ประสบการณ์ที่ได้รับความสะเทือนใจมาตั้งแต่วัยเด็ก สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย ซึ่งจัดเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1. สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางกาย 2. สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม 3. สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา การจัดสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาเด็กปฐมวัย 1. การจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน : เป็นการจัดวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการที่มีลักษณะ และคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการกระทำกิจกรรมภายในอาคาร และภายในห้องเรียน 2. การจัดสิ่งแวดล้อมนอกห้องเรียน : ครูผู้จัดจะต้องพิถีพิถันในการพิจารณาวางแผนอย่างดีไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน สอดคล้องและเสริมประสบการณ์โดยใช้พื้นที่นอกห้องเรียนเป็น 2 ส่วน คือ - สนาม - สวนในโรงเรียน การจัดสภาพแวดล้อม 1. สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนต้องปลอดภัย สะอาด ดึงดูดใจ และกว้างขวางพอกับสนามเด็กเล่น 2. พื้นที่จัดกิจกรรมต้องกำหนดให้ชัดเจนเด็กต้องมีพื้นที่ที่สามารถทำงานได้ด้วยตนเอง และทำกิจกรรมด้วยกันเป็นกลุ่มเล็กๆหรือกลุ่มใหญ่ 3. พื้นที่สำหรับเด็กต้องจัดให้สะดวกสำหรับทำกิจกรรมต่างๆอาจจัดเป็นกลุ่มเล็กหรือรายบุคคล 4. สีที่ใช้ทาห้องเรียนและอาคารควรใช้สีที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ เป็นสีอ่อนเย็น เช่น สีเขียว ( ก้านมะลิ ) สีฟ้า ( เทอร์ควอยช์ ) สีเหลือง ( อ่อน ) เป็นต้น 5. สื่อหรืออุปกรณ์ต้องเหมาะสมกับวัยของเด็กมีปริมาณเพียงพอ มีหลากหลาย และมีความทนทาน 6. จัดหาที่ให้เด็กได้เก็บของใช้ส่วนตัวเป็นสัดส่วนชัดเจน 7. ต้องจัดมุมสงบไว้ทั้งในอาคารและนอกอาคาร 8. สภาพแวดล้อมควรมีส่วนที่อ่อนนุ่มบ้าง เช่น พรม เบาะ สนามหญ้า 9. ใช้วัสดุดูดเสียงเพื่อลดเสียงดังเพราะเสียงที่ดังเกินไปอาจทำให้เด็กเหนื่อยและเครียดได้ 10. พื้นที่นอกอาคารควรมีพื้นผิวหลายประเภท 11. ห้องน้ำ ห้องส้วม ควรจัดอย่างเหมาะสมกับตัวเด็กและถูกสุขลักษณะ 12. สภาพของห้องและบริเวณอาคารควรจัดให้ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ 13. เครื่องเล่นสนามต้องมีความปลอดภัย 14. ขยะและน้ำโสโครก มีกำจัดขยะทุกวันหรือเป็นประจำ 15. สถานที่เตรียมและปรุงอาหารทำด้วยวัสดุถาวร แข็งแรง 16. สถานที่รับประทานอาหาร ตัวอาคารไม่อับทึบ ไม่มีหยาบไย่ มีแสงสว่างเพียงพอ พื้นที่ทำด้วยวัสดุแข็ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น