วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 15 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย


 วันนี้อาจารย์ให้จับกลุ่มกัน 3 กลุ่ม แล้วคิดเมนูอาหารขึ้นมาโดยประกอบไปด้วย อาหารจานหลักและขนมหวาน กลุ่มของเราได้ทำด้วยกัน 3 เมนู คือ 

" ข้าวผัดทูน่า แกงจืดเต้าหู้ ทับทิมกรอบ "



" ข้าวผัดไส้กรอก  กล้วยบวชชี "



                                                        " ข้าวผัดแฮม  บัวลอย " 






>> สำหรับการทำอาหารของอาจารย์คือการทำบัวลอย << 

ครั้งที่ 14 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

อาจารย์ให้จับกลุ่มเลือก ๘ คุณธรรมพื้นฐาน กลุ่มของพวกเราเลือก " ขยัน " อาจารย์ให้หาวิดีโอเกี่ยวกับสิ่งที่เราเลือกแล้วมานำเสนอจากนั้นแต่ละกลุ่มได้ออกมาเปิดวิดีโอเสร็จ อาจารย์ก็สอนเรื่อง " อาหารและโภชนาการสำหรับเด็ก "

 


>> อาหารเป็นสิ่งสำคัญที่สุดต่อร่างกายของมนุษย์นับตั้งแต่ปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดาเมื่อเริ่มมีชีวิตทารกจะได้รับอาหารผ่านทางสายรกและใช้ในการเจริญเติบโตตลอดมา <<

>> อาหารที่เรากินเข้าไปจะส่งผลต่อร่างกายของเรา เช่น เรากินอาหารที่มีคุณค่าประกอบไปด้วย เนื้อสัตว์ แป้ง น้ำตาล ผัก ผลไม้ ในปริมาณที่พอเหมาะพอควร เราก็จะสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างกระฉับกระเฉง มีพลังที่จะดำเนินชีวิตประจำวันได้ <<

หลักของโภชนาการได้จัดแบ่งอาหารเป็นหมู่ได้ 5 หมู่ ได้แก่

อาหารหมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้ง ช่วยสร้างเสริมและซ่อมแซมอวัยวะต่างๆ

อาหารหมู่ที่ 2 ข้าว หัวเผือก หัวมัน แป้ง น้ำตาล ให้พลังงานความอบอุ่น

อาหารหมู่ที่ 3 ผักใบเขียวและพืชผักต่างๆให้วิตามิน เกลือแร่และเส้นใย

อาหารหมู่ที่ 4 ผลไม้ต่างๆให้วิตามินและเกลือแร่

อาหารหมู่ที่ 5 ไขมัน น้ำมันจากพืชและสัตว์ ให้พลังงานและความอบอุ่น

ข้อปฏิบัติในการจัดเตรียมอาหารของเด็กในวัยทารก

1. ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดก่อนจับต้องอาหาร

2. ใช้ภาชนะที่สะอาด โดยจัดเก็บอย่างมิดชิดไม่ให้แมลงวันหรือแมลงอื่นๆไต่ตอม

3. อาหารที่ปรุงทุกชนิดต้องล้างให้สะอาด ภาชนะที่ใช้ในการหุงต้มและประกอบอาหาร เช่น หม้อ กระทะ จาน ชาม มีด ต้องล้างให้สะอาดก่อนและหลังใช้ทุกครั้งแยกภาชนะของเด็กและผู้ใหญ่รวมไปถึงมือของผู้ประกอบอาหารก็ต้องสะอาดด้วย

4. อาหารและน้ำจะต้องสุกทั่วถึงและทิ้งระยะเวลาให้อุ่นลงไม่ร้อนจัดเวลานำมาป้อนเด็ก หากเด็กกินเหลือไม่ควรเก็บไว้

5. อาหารของเด็กจะต้องมีรสธรรมชาติ ไม่ควรใส่สารปรุงแต่งอาหารให้มีรสชาติเกินธรรมชาติ เช่น ไม่เค็ม หวาน เปรี้ยวเกินไป หรือไม่ควรใส่ผงชูรส

6. ต้มหรือตุ๋นข้าวจนสุกและ แล้วนำมาบดให้ละเอียดโดยใช้กระชอนหรือใส่ในผ้าขาวบางห่อแล้วบีบรูดออกหรือบดด้วยช้อนก็ได้

7. สับหมู หั่นผักให้ละเอียดก่อนนำไปหุงต้ม ส่วนตับให้ต้มให้สุกแล้วต่อยยีให้ละเอียด

8. ให้กินเนื้อปลาสุกโดยการย่างหรือนึ่ง หรือต้ม ไม่ควรให้กินหนังปลา

9. ให้กินน้ำแกงจืดผสมกับข้าว โดยใช้แกงจืดหรือน้ำผัดผักแต่ต้องไม่เค็ม

10. เด็กที่มีอายุ 7 เดือนแล้วกินถั่วเมล็ดแห้งได้ อาจน้ำไปหุงต้มปนไปกับข้าวหรือจะนำไปทำเป็นขนมผสมกับน้ำตาลและนม

ข้อควรคำนึงในการให้อาหารแก่เด็กทารก

1. อย่าให้อาหารอื่นใดนอกจากนมแม่ในระยะ 4 เดือนแรกเพราะจะทำให้เด็กทารกรับประโยชน์จากนมแม่ไม่เต็มที่

2. เพื่อเป็นการหัดให้เด็กคุ้นเคย ควรเริ่มให้อาหารอื่นนอกจากนมแม่ตามที่แนะนำไว้

3. เริ่มให้อาหารทีละอย่าง ทีละน้อยๆ

4. อาหารทุกชนิดควรใช้ช้อนเล็กๆป้อนเพราะต้องการให้เด็กรู้จักกินอาหารจากช้อน

5. ควรทิ้งระยะในการที่จะเริ่มอาหารใหม่แต่ละชนิดเพื่อดูการยอมรับของเด็กทารกและเพื่อสังเกตดูว่าทารกแพ้อาหารหรือไม่

6. ควรจัดให้กินอาหารของเหลวก่อน

7. ให้กินน้ำต้มสุกหลังอาหารในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้ร่างกายทำหน้าที่ต่างๆได้สมบูรณ์และช่วยในการขับถ่ายของเสียรวมทั้งทำความสะอาดช่องปากของเด็กทารก

8.เมื่อเด็กทารกเริ่มมีฟันขึ้น ให้กินอาหารสับละเอียดไม่ต้องบดเพื่อฝึกให้เด็กหัดเคี้ยว

9. ให้อาหารที่สดใหม่และทำสุกใหม่ๆ

10. อย่าบังคับเด็กกินเมื่อเด็กไม่ต้องการ ให้พยายามลองใหม่วันถัดไป

11. อย่าให้เด็กกินอาหารเค็มจัดและหวานจัด

การจัดรายการอาหารและการจัดอาหารสำหรับเด็ก 

1. อาหารหลัก เป็นอาหารที่คุณค่าทางโภชนาการในการเสริมสร้างความเจริญเติบโต มีคุณค่าทางอาหารมาก เพื่อความสะดวก ของผู้เลี้ยงดูเด็ก ควรจัดเป็นรูปแบบอาหารจานเดียวที่มีความสมบูรณ์แบบทั้งคุณค่าทางโภชนาการและเด็กสะดวกในการกินอาหารจานเดียว

2.อาหารว่าง เป็นอาหารที่มิใช่อาหารคาวหรืออาหารหวาน แต่เมื่อเด็กกินแล้วอิ่มใช้สำหรับเสริมให้แก่เด็กก่อนกินอาหารกลางวันเวลา 10.00 น. เพราะเด็กบางคนอาจกินอาหารเข้ามาน้อยหรือไม่ได้กินเลยและก่อนกลับบ้านเวลา 14.00 น. เพื่อเสริมหากเด็กกินข้าวเที่ยงน้อยหรือมิให้ท้องว่างไปก่อนกินอาหารเย็น ควรเป็นอาหารที่เตรียมง่าย

3. อาหารหวาน เป็นอาหารที่สามารถเสริมคุณค่าของอาหารหลักได้จะมีรสชาติหวานน้อยไปจนหวานมาก ผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ควรเลือกอาหารที่ให้ความหวานแต่เพียงอย่างเดียวควรเลือกขนมหวานที่มีคุณค่าทางโภชนาการด้วย

ครั้งที่ 13 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย



วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง " การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมในเด็กปฐมวัย "



ความหมายของคำว่า " จริยธรรม " 

" จริยธรรม " คือ หลักแห่งการประพฤติ ปฏิบัติที่ดี ที่เหมาะที่ควร

" จริยธรรม "  คือ หลักคำสอนที่ว่าด้วยแนวทางการประพฤติที่เป็นหลักการและเป็นที่ยอมรับนับถือ

ทฤษฎีจริยธรรมตามแนวคิดการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบอร์ก

  เป็นนักจิตวิทยาที่อธิบายถึงจริยธรรมของคนที่พัฒนาขึ้นไปพร้อมๆกับความสามารถในการคิดเชิงเหตุโดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับก่อนเกณฑ์  ระดับกฎเกณฑ์สังคม และระดับเลยกฎเกณฑ์ของสังคม สำหรับเด็กปฐมวัยจะอยู่ในขั้นแรกของทฤษฎีคือระดับก่อนกฎเกณฑ์เด็กวัยนี้จึงตัดสินความถูกผิดจากความรู้สึกของตนเอง

ทฤษฎีการเรียนรู้จริยธรรมด้วยการกระทำตามแนวคิดของสกินเนอร์


    นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมเป็นผู้เสนอทฤษฎีที่มีความเชื่อว่าพฤติกรรมของคนเกิดจากการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมผลจากการแสดงพฤติกรรมนั้นจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าพฤติกรรมนั้นจะมีแนวโน้มเกิดขึ้นอีกหรือไม่ในสถานการณ์ที่คล้ายกับสถานการณ์เดิม

ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมจริยธรรมตามแนวคิดของแบนดูรา

    นักจิตวิทยาสังคม อธิบายว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่ของคนในสังคมเกิดจากการเรียนรู้โดยการสังเกตจากตัวแบบ ทั้งตัวแบบในชีวิตจริงหรือตัวแบบที่เป็นสัญลักษณ์ทั้งนี้ตัวแบบจะทำหน้าที่ทั้งสร้างหรือพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรมและทำหน้าที่ในการระงับ พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ 

๘ คุณธรรมพื้นฐาน

1.ขยัน

2.ประหยัด

3.ซื่อสัตย์

4.มีวินัย

5.สุภาพ

6.สะอาด

7.สามัคคี

8.มีน้ำใจ

ครั้งที่ 12 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย



วันนี้อาจารย์ได้พาไปเข้าร่วมชมงานนิทรรศการ ๑๒๕ ปี อัยการไทย 







ไปนั่งฟังบรรยายเกี่ยวกับกฎหมายอัยการ






หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้พาไปชมสุนัขตำรวจมีการจัดการแสดงความสามารถของสุนัขโดยฟังคำสั่งจากตำรวจแล้วก็ให้หายาเสพติดตามจุดที่ได้ซ่อนไว้



ครั้งที่ 11 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

อาจารย์ให้นักศึกษาไปสัมภาษณ์ครูปฐมวัยโดยถามเรื่อง บทบาทหน้าที่ของครูปฐมวัยกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยอาจารย์ได้กำหนดหัวข้อมาให้ ดังนี้


1.บทบาทหน้าที่ของครูปฐมวัยที่ต้องทำในแต่ละวันมีอะไรบ้าง

2. ท่านมีหลักในการอบรมเลี้ยงดู การดูแลสุขภาพอนามัย โภชนาการเด็กปฐมวัยของท่านอย่างไร

3. ท่านมีเทคนิควิธีหรือรูปแบบกิจกรรมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน อย่างไร

4. ในการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย ท่านมีการส่งเสริมหรือปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมใดให้แก่เด็กบ้าง อย่างไร

5. ถ้าท่านมีปัญหาในการอบรมเลี้ยงดูหรือส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยบ้างหรือไม่ ถ้ามีปัญหาอะไรบ้างที่เป็นปัญหาและท่านมีแนวทางในการแก้ปัญหาต่างๆนั้นอย่างไร



ครั้งที่ 10 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย




วันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่อง " แนวทางการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ "
ความหมายของสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมอาจแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. สิ่งแวดล้อมภายในบุคคล : การทำงานของระบบต่างๆของร่างกาย เช่น ระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นต้น 2. สิ่งแวดล้อมภายนอก : สิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายนอกกายของมนุษย์ เช่น วัตถุสิ่งของ คน พืช สัตว์ กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดจากคนและสัตว์ รวมไปถึงสิ่งที่เป็นนามธรรม ได้แก่ ศีลธรรมจรรยา ขนบธรรมเนียมประเพณีในสังคม ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม : เด็กได้รับการฝึกอบรมให้รู้จักบทบาทต่างๆในสังคมทั้งในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ไปพร้อมๆกันกระบวนการของการอบรมให้คนเป็นสมาชิกของสังคมนั้นจะขึ้นอยู่กับเจตคติ ความคาดหวัง และค่านิยมของสังคมที่คนๆนั้นเกี่ยวข้องด้วยเนื่องจากบทบาทที่แสดงอยู่เปลี่ยนไปก็ส่งผลกระทบต่อคนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัยมีดังนี้ 1. ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการตอบสนองความต้องการพื้นฐาน 2. ประสบการณ์ที่ได้จากการสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว 3. ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากสัมพันธภาพทางสังคม 4. ประสบการณ์ที่ได้รับความสะเทือนใจมาตั้งแต่วัยเด็ก สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย ซึ่งจัดเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1. สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางกาย 2. สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม 3. สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา การจัดสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาเด็กปฐมวัย 1. การจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน : เป็นการจัดวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการที่มีลักษณะ และคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการกระทำกิจกรรมภายในอาคาร และภายในห้องเรียน 2. การจัดสิ่งแวดล้อมนอกห้องเรียน : ครูผู้จัดจะต้องพิถีพิถันในการพิจารณาวางแผนอย่างดีไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน สอดคล้องและเสริมประสบการณ์โดยใช้พื้นที่นอกห้องเรียนเป็น 2 ส่วน คือ - สนาม - สวนในโรงเรียน การจัดสภาพแวดล้อม 1. สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนต้องปลอดภัย สะอาด ดึงดูดใจ และกว้างขวางพอกับสนามเด็กเล่น 2. พื้นที่จัดกิจกรรมต้องกำหนดให้ชัดเจนเด็กต้องมีพื้นที่ที่สามารถทำงานได้ด้วยตนเอง และทำกิจกรรมด้วยกันเป็นกลุ่มเล็กๆหรือกลุ่มใหญ่ 3. พื้นที่สำหรับเด็กต้องจัดให้สะดวกสำหรับทำกิจกรรมต่างๆอาจจัดเป็นกลุ่มเล็กหรือรายบุคคล 4. สีที่ใช้ทาห้องเรียนและอาคารควรใช้สีที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ เป็นสีอ่อนเย็น เช่น สีเขียว ( ก้านมะลิ ) สีฟ้า ( เทอร์ควอยช์ ) สีเหลือง ( อ่อน ) เป็นต้น 5. สื่อหรืออุปกรณ์ต้องเหมาะสมกับวัยของเด็กมีปริมาณเพียงพอ มีหลากหลาย และมีความทนทาน 6. จัดหาที่ให้เด็กได้เก็บของใช้ส่วนตัวเป็นสัดส่วนชัดเจน 7. ต้องจัดมุมสงบไว้ทั้งในอาคารและนอกอาคาร 8. สภาพแวดล้อมควรมีส่วนที่อ่อนนุ่มบ้าง เช่น พรม เบาะ สนามหญ้า 9. ใช้วัสดุดูดเสียงเพื่อลดเสียงดังเพราะเสียงที่ดังเกินไปอาจทำให้เด็กเหนื่อยและเครียดได้ 10. พื้นที่นอกอาคารควรมีพื้นผิวหลายประเภท 11. ห้องน้ำ ห้องส้วม ควรจัดอย่างเหมาะสมกับตัวเด็กและถูกสุขลักษณะ 12. สภาพของห้องและบริเวณอาคารควรจัดให้ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ 13. เครื่องเล่นสนามต้องมีความปลอดภัย 14. ขยะและน้ำโสโครก มีกำจัดขยะทุกวันหรือเป็นประจำ 15. สถานที่เตรียมและปรุงอาหารทำด้วยวัสดุถาวร แข็งแรง 16. สถานที่รับประทานอาหาร ตัวอาคารไม่อับทึบ ไม่มีหยาบไย่ มีแสงสว่างเพียงพอ พื้นที่ทำด้วยวัสดุแข็ง

ครั้งที่ 9 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย


วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาสอบกลางภาค 






ครั้งที่ 8 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย




วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง " การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย "ความหมายของการอบรมเลี้ยงดูเด็ก : การที่บิดามารดาหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในการเลี้ยงดูเด็กปฏิบัติต่อเด็กที่ยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ให้เจริญเติบโตและมีพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาซึ่งผู้อบรมต้องอบรมด้วยความรัก ความเข้าใจและปรับวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กอย่างเหมาะสมให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นคนดีสามารถเผชิญกับสภาพการณ์ของสังคมและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขความสำคัญของพ่อแม่ในการอบรมเลี้ยงดู : คุณภาพและประสิทธิภาพของมนุษย์ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของแต่ละคนตามวัยต่างๆโดยเฉพาะบุคคลในวัยทำงานนั้นจะมีคุณภาพและประสิทธิภาพเท่าใดก็ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ การฝึกฝนและประสบการณ์ที่ต่อเนื่องกันตั้งแต่แรกเกิดถึงวัยปัจจุบันการเรียนรู้ครั้งแรกของมนุษย์ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูของพ่อแม่ โดยถือว่าพ่อแม่ คือครูคนแรกของลูกความสำคัญและความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูก : ความรู้สึกที่พ่อแม่มีต่อลูกและความรู้สึกที่ลูกมีต่อพ่อแม่นั่นเอง เด็กแต่ละคนอาจจะมีความรู้สึกต่อพ่อแม่ต่างกัน เช่น ลูกสาวมักจะใกล้ชิดสนิทสนมกับพ่อมากกว่าแม่ หรือลูกชายมักจะใกล้ชิดสนิทสนมกับแม่มากกว่าพ่อเป็นต้นวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็ก อาจจัดได้ 4 วิธี ดังนี้1. การอบรมเลี้ยงดูแบบความรักความอบอุ่นแบบประชาธิปไตย2. การอบรมเลี้ยงดูเด็กแบบคาดหวังเอากับเด็ก3. การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย4. การอบรมเลี้ยงดูแบบรักถนอมมากเกินไปการดูแลเด็กทารก : นับตั้งแต่คลอดจากครรภ์มารดาไปจนถึง 2 ปี เป็นวัยที่สำคัญที่สุดในการวางรากฐานสำคัญต่างๆของชีวิตในทุกๆด้านเป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด บิดามารดาผู้เลี้ยงดูจึงควรใช้ระยะเวลานี้เพื่อส่งเสริมให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น โดยตอบสนองความต้องการจำเป็นต่างๆเพื่อให้ทารกมีพัฒนาการที่ดีทั้งทางกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาการอบรมเลี้ยงดูเด็กวัยก่อนเรียน : เด็กวัยตอนต้นมีอายุ 2-5 ปี เด็กวัยก่อนเรียนเป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดช่วงหนึ่งของชีวิตเพราะเป็นวัยของการวางรากฐานบุคลิกภาพของมนุษย์ระยะนี้เป็นระยะที่เกิดการเรียนรู้มากที่สุดในชีวิตเป็นช่วงพัฒนาการที่สำคัญที่สุดที่จะสร้างบุคลิกภาพให้แก่เด็ก เด็กจะเป็นคนอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูในวัยนี้เป็นสำคัญการเลียนแบบของเด็กวัยก่อนเรียนแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะใหญ่ๆคือ1. การเรียนแบบบทบาททางเพศ2. การเลียนแบบส่วนตัวที่ไม่ใช่บทบาททางเพศ3. การเลียนแบบกับการพัฒนาศีลธรรมปัญหาของเด็กก่อนวัยเรียน1. ปัญหาด้านสุขภาพ สุขภาพจิต สาเหตุของปัญหาเกี่ยวข้องกับครอบครัวแม่ไม่นิยมเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พ่อแม่เลี้ยงดูเด็กอย่างทารุณ ขาดคุณธรรมและจริยธรรม2. ปัญหาด้านโภชนาการ สาเหตุของปัญหาเกี่ยวข้องกับครอบครัว คือ แม่ขาดความรู้ด้านโภชนาการ นอกจากนี้เกิดจากพ่อแม่ขาดความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับอาหาร3. ปัญหาด้านสติปัญญาและความสามารถพื้นฐาน สาเหตุของปัญหา คือ พ่อแม่ขาดความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาของเด็ก4. ปัญหาด้านสังคม วัฒนธรรม และจริยธรรม สาเหตุของปัญหาเกี่ยวข้องกับครอบครัว คือ เด็กเป็นบุตรนอกสมรสและเกิดจากการตั้งครรภ์ที่พ่อแม่ไม่พึงปรารถนา พ่อแม่ขาดการศึกษาและขาดความรับผิดชอบครอบครัวแตกแยก

ครั้ังที่ 7 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย


   วันนี้อาจารย์ให้แต่ละคนออกมาอ่านบทความของตัวเองที่หามาได้  เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย 
ของฉันได้บทความเรื่อง เด็กกับคณิตศาสตร์

พัฒนาการด้านคณิตศาสตร์ของเด็กแต่ละช่วงอายุ

เนื่องจากการเรียนรู้เรื่องคณิตศาสตร์กลายเป็นเรื่องท้าทายสำหรับเด็ก ๆ คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนก็พยายามให้ลูกได้คุ้นเคยกับตัวเลขตั้งแต่เล็กแต่น้อยกันมากขึ้นเรื่อย ๆ เรามาดูรายละเอียดกันดีกว่าว่าเด็กเล็กแต่ละวัย ควรจะมีพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ตามธรรมชาติอย่างไรบ้าง
เลขสำหรับเด็กช่วง 1-2 ปี
คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกที่ และกระทั่งในวัยแค่ 1-2 ขวบ คุณก็สามารถกระตุ้นพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ของลูกได้โดยการสอนให้ลูกรู้จักตัวเลขและนับเลขจาก 1 ถึง 10 ให้ลูกฟัง เด็ก ๆ ส่วนมากสามารถเรียงลำดับค่าตัวเลขน้อยไปหามากได้ด้วย นอกเหนือจากตัวเลขแล้ว เด็กวัยคลานย่อมสนใจเรื่องรูปร่างสิ่งต่าง ๆ รอบตัวและจดจำรูปร่างพื้นฐานอย่าง วงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม และสี่เหลี่ยมได้ นอกจากนี้ อย่าหยุดยั้งลูกให้แค่จดจำได้ แต่กระตุ้นให้ลูกได้นับสิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัวด้วย จำไว้ว่าการฝึกซ้อมและทำซ้ำ ๆ บ่อย ๆ เป็นกุญแจสำคัญในพัฒนาการด้านคณิตศาสตร์ของเด็กในวัยนี้
คณิตศาสตร์กับเด็กช่วง 3-4 ปี
ในวัยนี้ เด็กหลาย ๆ คนจะเริ่มลองเขียนแล้ว รวมถึงการเขียนตัวเลขในรูปของแบบฝึกหัดนับเลขตามลำดับและเขียนวันที่ด้วย เมื่อเด็กมีพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ เด็กก็รับรู้ว่าสามารถใช้ร่างกายของตัวเองช่วยได้ ดั้งนั้นลูกก็จะนับจาก 0 ถึง 10 ได้โดยใช้นิ้วมือด้วยตัวเอง เด็กหลาย ๆ คนก็ก้าวผ่านการนับจาก 0 ถึง 10 เพื่อนับเลขมากกว่านั้น บางคนนับไปได้ถึง 100 ก็มี พัฒนาการทางคณิตศาสตร์ของเด็กจะก้าวหน้าไปอีกโดยที่เด็กหลาย ๆ คนสามารถเปรียบเทียบปริมาณ ขนาด ความยาว น้ำหนัก และกระทั่งความเร็ว และบอกเวลาจากนาฬิกาได้ด้วย
พัฒนาการทางคณิตศาสตร์ในเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน ไม่มีใครที่จะมีความเร็วในพัฒนาการได้เท่ากันเป๊ะ ๆ
คณิตศาสตร์กับเด็กอายุ 5-6 ปี หน้าถัดไป >>>
คณิตศาสตร์กับเด็กอายุ 5-6 ปี
คณิตศาสตร์กับเด็กอายุ 5-6 ปี
วัยนี้เป็นช่วงพัฒนาการที่สำคัญ ลูกควรสามารถบวกลบเลขง่าย ๆ ที่มีผลรวมไม่เกิน 10 เช่น 1+9, 4+6, 8+2 เด็กควรสามารถแยกแยะเลขคู่ เลขคี่ได้และนับเลขคู่คี่ตามลำดับได้ เช่น การนับเลขคู่ก็ต้องนับว่า 2, 4, 6, 8 และเลขคี่ก็จะนับว่า 3, 5, 7 เป็นต้น เด็กบางคนที่ได้ฝึกฝนเพิ่มเติมมากกว่านี้ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านก็ควรสามารถท่องสูตรคูณแม่ 1 ถึง แม่ 5 ได้ เด็กในวัยนี้ควรสามารถบอกเวลาจากนาฬิกาได้และนับเงินได้อย่างคล่องแคล่ว
หากลูกมีพัฒนาการตามลำดับ ลูกก็พร้อมที่จะรับมือกับการเรียนคณิตศาสตร์ที่โรงเรียนได้ แต่ถ้าลูกดูเหมือนว่าจะขาดตกบกพร่องอะไรไปจากที่ระบุไว้ในบทความนี้ก็อย่าได้เศร้าใจไป เพราะในบทความนี้ก็เป็นเพียงแนวทางพัฒนาการ และไม่ใช่เป็นสิ่งบ่งชี้ว่าถ้าเด็กมีพัฒนาการตามนี้ เด็กจะเป็นอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์ สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าคือคุณต้องสร้างสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมให้ลูกได้เรียนรู้และสนุกสนานไปกับคณิตศาสตร์เมื่อได้เรียนที่โรงเรียน

ครั้งที่ 6 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย



วันนนี้อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอนักทษฎี ดังนี้
1. ซิกมันด์ ฟรอยด์
2. อีริค อีริคสัน
3. อาร์โนลด์ กีเซล
4. ฌอง เพียเจท์
5. ลอเรนซ์ โคลเบิร์ก
6. เจอโรม บรุนเนอร์

การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐฒวัยเพื่องให้สมองทำงานได้ดี
 กินอาหารที่ดี ดื่มน้ำมาก นอนหลับเพียงพอ
 กระตุ้นประสาทสัมผัสผ่านการลงมือทำ
 เล่านิทานจัดหาหนังสือที่หลากหลายให้กับลูก
 เล่นสี และทำงานศิลปะ
 ทำกิจจกรรมดนตรี และการเคลื่อนไหว
 เล่นกีฬา หรือออกกำลังกาย
 ทำอาหารด้วยกัน
 ปลูกผักสวนครัว
 ใช้ชีวิตกับธรรมชาติ
 เล่นสมมติ เล่นพัฒนาทักษะการคิด เป็นต้น










ครั้งที่ 5 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย


สัปดาห์ที่แล้วอาจารย์ให้งานทำเป็นกลุ่ม จากนั้นให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ พอนำเสนอเสร็จอาจารย์พูดเสริมเกี่ยวกับงานของเรา และพูดเสริมของแต่ละกลุ่มที่นำเสนอ อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับหัวข้อที่เราได้ แล้วก็จะพูดเสริมทุกครั้งเวลาที่เพื่อนๆออกไปนำเสนองาน


ครั้งที่ 4 EAED1103 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

การเรียนการสอน วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนจับกลุ่ม 5-6 คน แล้วจากนั้นอาจารย์ให้หัวข้อเรื่อง ความต้องการของเด็กปฐมวัยนั้นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
1. ความหมายและความต้องการของเด็กปฐมวัย
2. ครูจะมีวิธีตอบสนองความต้องการอย่างไร
3. พ่อแม่ผู้ปกครอง จะมีวิธีการตอบสนองอย่างไร

คำตอบของแต่ละข้อ
>ความหมายและความต้องการของเด็กปฐมวัย
ความต้องการพื้อนฐานทางกายเพื่อดำรงอยู่ ความต้องการความอิสระคู่กับความต้องการพื้นฐานทางกาย
>ครูจะมีวิธีตอบสนองความต้องการอย่างไร
ครูต้องจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย
>พ่อแม่ผู้ปกครอง จะมีวิธีการตอบสนองอย่างไร
ผู้ปกครองต้องสนับสนุนกิจกรรมของครูที่ให้เด็กได้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของตัวเด็กเอง ผู้ปกครองควรให้อิสระกับเด็ก